จากปัญหาข้างต้น จึงทำให้มีบริษัทซอฟต์แวร์ที่เรียกว่า Linux Distribution เป็นผู้ผลิตระบบปฏิบัติการขึ้นเป็นของตนเอง โดยนำเอา Kernel ของ Linux มาประกอบเข้ากับซอฟต์แวร์อื่น ๆ และจัดทำให้เป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป ความแตกต่างของ Linux Distribution แต่ละรายแบ่งออกได้ดังนี้
การติดตั้ง ขั้นตอนของการติดตั้งมีตั้งแต่วิธีการแบบแมนน่วล คือ ผู้ติดตั้งกระทำเองทุกขั้นตอน ไปจนถึง ติดตั้งแบบอัตโนมัตทุกอย่าง บางรายมีเมนูอธิบายขั้นตอนการติดตั้งเป็นภาษาไทยก็มี เช่น Mandrake 8.x
ความง่ายในการตั้งค่าให้แก่ระบบ Linux Distribution แต่ละรายจะมีเครื่องมือที่ใช้ในการคอนฟิกระบบแตกต่างกันไป บางรายอาจจะมีเครื่องมือช่วยการคอนฟิกแบบรวมศูนย์กลาง เช่น YaST ของ SUSE Linux เป็นต้น
ซอฟต์แวร์ที่แถมให้มาพร้อมกัน บาง Distribution อาจจะให้ซอฟต์แวร์แบบฟรีแวร์มานับเป็นพัน ๆ โปรแกรม แต่บางรายอาจจะให้ซอฟต์แวร์เฉพาะมาเท่าที่จำเป็นจริง ๆ เท่านั้น
ระบบ X Window ส่วนมากแล้ว ทุก ๆ Distribution จะมีระบบ X Window ซึ่งเป็น GUI ของระบบยูนิกซ์ให้มาพร้อมกันด้วย ซึ่งนิยมใช้โปรเจค XFree86 ดังนั้นจึงมีลักษณะการติดตั้งและใช้งานที่คล้ายคลึงกัน
การสนับสนุนทางเทคนิคหลังการขาย สำหรับองค์กรขนาดใหญ่ การให้การสนับสนุนทางเทคนิคมีความจำเป็นมาก หลาย ๆ distribution มักจะแบ่งจำหน่ายสินค้าของตนเองทั้งแบบดาวน์โหลดฟรี ( ไม่มีการสนับสนุนทางเทคนิค ) แบบมีการสนับสนุนทางเทคนิคระยะเวลาหนึ่ง และแบบทำสัญญาเป็นระยะยาว
ที่มา : http://www.itdestination.com/articles/linux/distributions.php
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น